ท่ามกลางสถานการณ์ COVID-19 ทั้งแพทย์ พยาบาล บุคลากรทางการแพทย์ ผู้ป่วย และทุกคนล้วนมีความเครียดและความกังวลใจ ลองมาดูสักนิดว่า เราจะช่วยกันรับมือ ดูแลจิตใจ และผ่านวิกฤตินี้ไปด้วยกันได้อย่างไร กับการจัดการความเครียดเพื่อรับมือ COVID-19 อย่างถูกวิธีที่จิตแพทย์อยากแนะนำ ความรู้สึกกังวลที่เกิดขึ้นเป็นกลไกธรรมชาติของมนุษย์ในการเผชิญวิกฤติ ความเครียดเป็นกลไกโดยธรรมชาติที่ช่วยให้มนุษย์เตรียมตัว วางแผน และรับมือกับสถานการณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ถ้ามีใครสักคนที่ไม่รู้สึกเครียด ไม่กลัวติดเชื้อ ไม่สนใจว่าจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไร ไม่ฟังการประกาศจากรัฐบาล กลุ่มนี้ถือว่าผิดปกติและอาจนำพาไปสู่ความเสี่ยงมากมายทั้งต่อตนเองและผู้อื่น ดังนั้นการที่รู้สึกเครียด กังวล กลัว ตื่นตระหนกนั้นถูกต้องแล้ว และควรจะเป็นแบบนั้นเพื่อที่ทุกคนจะได้ขวนขวายหาความรู้ หาข้อมูลมาประกอบการตัดสินใจ มีการวางแผน และเตรียมการอย่างถูกวิธี สถานการณ์ COVID-19 คุณมีอาการดังต่อไปนี้หรือไม่ CDC สหรัฐฯ แนะนำให้สังเกตอาการเหล่านี้ อารมณ์เปลี่ยนแปลง แปรปรวน กลัว เครียด กังวล เบื่อ เฉยชา หงุดหงิดฉุนเฉียวง่าย นอนไม่หลับหรือหลับไม่สนิท ฝันร้ายต่อเนื่องเรื้อรัง พฤติกรรมการกินผิดปกติ บางรายกินไม่ลง บางรายกินมากผิดปกติ รู้สึกไม่กระปรี้กระเปร่า ไม่สดชื่น เฉื่อยชาลง ลดกิจกรรมลงอย่างชัดเจน เบื่อ
ในช่วงที่เชื้อไวรัส COVID-19 กำลังระบาดไปทั่วโลก ผู้ที่มีโรคประจำตัวอย่างโรคอ้วนและโรคเบาหวาน หากได้รับเชื้อไวรัส COVID-19 อาจจะมีอาการรุนแรงมากกว่าคนทั่วไป ดังนั้นการรู้เท่าทันความเสี่ยงและใส่ใจดูแลตัวเองอย่างถูกต้องเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องตระหนักอยู่เสมอ ความเสี่ยงต้องรู้ แม้ในปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลสรุปแน่ชัดว่าผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานและโรคอ้วนมีโอกาสติดเชื้อไวรัส COVID-19 ได้มากกว่าคนทั่วไป แต่ในผู้ป่วยโรคอ้วนหรือผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ไม่สามารถคุมน้ำตาลให้อยู่ในระดับที่ปกติได้ เมื่อติดเชื้อไวรัส COVID-19 แล้วมีโอกาสที่จะมีอาการรุนแรงหรือมีผลข้างเคียงมากกว่าคนทั่วไป โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคเบาหวานหรือโรคอ้วนที่มีโรคร่วม ยิ่งมีโรคร่วมมากเท่าใดก็จะยิ่งมีโอกาสที่จะมีผลข้างเคียงจากการติดเชื้อไวรัส COVID-19 มากเท่านั้น ยกตัวอย่างเช่น ในผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ไม่สามารถคุมระดับน้ำตาลได้ ซึ่งมักจะมีโรคร่วมอื่น ๆ ด้วย เช่น ความดันโลหิตสูง โรคอ้วน หรือมีโรคที่เป็นผลข้างเคียงจากเบาหวานร่วมด้วย เช่น โรคไตเรื้อรัง โรคหัวใจ ฯลฯ ผู้ป่วยเหล่านี้เมื่อได้รับเชื้อมีโอกาสที่จะมีอาการรุนแรงและมีผลข้างเคียงจากเชื้อไวรัส COVID-19 มากกว่าคนทั่วไป เบาหวานกับไวรัส COVID-19 ผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมน้ำตาลได้ไม่ดีมีโอกาสเกิดผลข้างเคียงจากการติดเชื้อไวรัส COVID-19 มากกว่าคนทั่วไปเนื่องจาก ระดับน้ำตาลที่สูงกว่าค่าปกติ จะส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานลดลง ทำให้ร่างกายต่อสู้กับเชื้อไวรัสได้ไม่ดี ไวรัสสามารถเติบโตและกระจายตัวได้ง่ายขึ้น โรคร่วมหรือผลข้างเคียงจากเบาหวาน ผู้ป่วยเบาหวานที่คุมระดับน้ำตาลได้ไม่ดี มักจะมีโรคร่วม หรือผลข้างเคียงจากเบาหวานร่วมด้วย ซึ่งการที่มีโรคร่วมดังกล่าวทำให้เมื่อติดเชื้อไวรัส COVID-19 มีโอกาสที่จะมีอาการรุนแรงมากขึ้น มีผลข้างเคียงง่ายและเพิ่มขึ้นได้ ปฏิกิริยาการอักเสบจากการติดเชื้อไวรัส ทำให้การควบคุมเบาหวานทำได้แย่ลง เมื่อผู้ป่วยเบาหวานติดเชื้อไวรัส COVID-19 ร่างกายจะมีปฏิกิริยาต่อต้านไวรัสและเกิดการอักเสบ
- 1
- 2