เริ่มต้นเมื่อปี 2524

กรมการแพทย์กระทรวงสาธารณสุขโดย นายแพทย์กมล สินธวานนท อธิบดีกรมการแพทย์ในขณะนั้นมีนโยบายที่ จะตั้งศูนย์บำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดขึ้นในภาคตะวันออก เฉียงเหนือเพื่อเป็น การรองรับปัญหาที่กำลัง ขยายตัวออกสู่เขตชนบทอย่างรวดเร็ว ประกอบกับยังไม่มีสถานพยาบาลของรัฐที่ให้บริการด้านฟื้นฟูสมรรถภาพ ผู้ติดยาเสพติดในภูมิภาคนี้มาก่อน จึงได้ประสานงานมายังจังหวัดขอนแก่น เพื่อขอความอนุเคราะห์จัดหาสถานที่ก่อสร้าง ศูนย์บำบัดฯ ดังกล่าว โดยมอบหมายให้นายแพทย์สมพงษ์ รังสิพราหมณกุล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจิตเวช ในขณะนั้นเป็นผู้ดำเนินการในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น โดยนายชำนาญ พจนา ผู้ว่าราชการในขณะนั้นได้อนุมัติในหลักการ ให้ใช้พื้นที่บริเวณโคกหนองหัวช้าง ตำบลศิลา อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น จำนวน 151 ไร่ 60 ตารางวา สำหรับเป็นที่ก่อสร้างศูนย์ฯ โดยกรมการแพทย์ดำเนินการประสานงานกับที่ดินจังหวัดขอนแก่นในเรื่องขอเปลี่ยน สภาพ ที่ดินจากที่ดินสาธารณประโยชน์ เพื่อให้กรมการแพทย์ได้ใช้ต่อไป

เป็นรูปเป็นร่างย่างเข้าปี 2534

เมื่อปี พ.ศ. 2534 กรมการแพทย์จึงได้ดำเนินการ จัดของบประมาณสำหรับก่อสร้างศูนย์บำบัดฯ จากรัฐบาลของ ฯพณฯ พลเอกเปรมติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น แต่ไม่ได้รับการจัดสรรให้ จนกระทั่ง พ.ศ. 2534 รัฐบาล ฯพณฯ พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ ได้อนุมัติเงินงบประมาณ จำนวน 41,200,000 บาท สำหรับก่อสร้างศูนย์บำบัดฯ อย่างไรก็ตามเนื่องจากในระยะเวลาใกล้เคียงกันนั้นเกิดวิกฤตการณ์ราคาค่า วัสดุก่อสร้างสูงขึ้น อย่างมากทำให้ไม่สามารถ ดำเนินการประกวดราคาก่อสร้างได้สำเร็จ ภายหลังจากที่ได้มีการปรับราคากลางโดยกองแบบแผน กระทรวงสาธารณสุขใหม่ การก่อสร้างกำหนดจะเริ่มต้นขึ้นในราวต้นปีงบประมาณ 2535 แต่ปรากฏว่าเมื่อโครงการผ่าน ไปยังสำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติเพื่อขออนุมัติการก่อสร้างหน่วย งานราชการ ในเขตเมืองหลักของประเทศ ก็ได้รับการท้วงติงว่าพื้นที่ด้านทิศเหนือประมาณ 45 ไร่เป็นแหล่งน้ำใต้ดิน มีความจำเป็นจะต้อง ขอสงวนเอาไว้เป็นพื้นที่สีเขียวสำหรับการพัฒนาต่อไปในอนาคต กรมการแพทย์จึงต้องทำการปรับผังต้นแบบเสียใหม่ เพื่อให้เหมะสมกับพื้นที่ซึ่งมีขนาดเล็กลง พร้อมทั้งปรับราคากลางใหม่เนื่องจากการก่อสร้างต้องล่าช้าออกไป จนกระทั่งเดือนกรกฎาคม 2536 การก่อสร้างศูนย์ฯ จึงได้เริ่มต้นขึ้นด้วยเงินงบประมาณจำนวน 69,220,314 บาท โดยเป็นงบผูกพัน 3 ปี (2536 – 2538) การก่อสร้างแล้วเสร็จตามสัญญาในวันที่ 3 มิถุนายน 2538

ระยะแรกของการทำงานเมื่อปี 2534

ในระหว่างการก่อสร้างศูนย์ฯ นายแพทย์สุจินต์ ผลากรกุลอธิบดีกรมการแพทย์ในขณะนั้นได้มอบนโยบาย ให้กองประสานงานการปฏิบัติการบำบัดรักษาผู้ติดยาและสารเสพติดซึ่งดูแลรับผิด ชอบ ศูนย์บำบัดรักษายาเสพติดในส่วน ภูมิภาคให้เปิดดำเนินงานด้านการบำบัดรักษาไปพลางก่อน;โดยได้กระทำพิธี เปิดที่ทำการชั่วคราวของศูนย์ฯ ขึ้น ณ โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่น วันที่ 21 กันยายน 2534 โดยให้บริการในแบบผู้ป่วยนอกสำหรับผู้ป่วยที่ติดยาและเสพติด เช่น เฮโรอีน,ฝิ่น,กัญชา,ยาม้า,สารระเหย รวมทั้งเหล้าและบุหรี่ อย่างไรก็ตามเนื่องจากผู้ป่วยมีจำนวนเพิ่มขึ้น ในระยะเวลา ปีต่อมา ศูนย์ฯจึงได้ย้ายที่ทำการชั่วคราวในส่วนของแผนกบริการผู้ป่วยนอก ไปอยู่ ณ อาคารพาณิชย์ 2 คูหา 3 ชั้น เลขที่ 302/6-7 ถนนมะลิวัลย์ ตำบลบ้านเป็ด อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2537 เพื่อรอจนกว่าการก่อสร้างจะแล้วเสร็จ

8 มกราคม 2539 วันที่รอคอย

การก่อสร้างอาคารศูนย์บำบัดรักษายาเสพติด จังหวัดขอนแก่น ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องจนแล้วเสร็จ และเมื่อวันที่ 8 มกราคม 2539 ได้จัดให้มีพิธีเปิดให้บริการ ณ อาคารที่ทำการแห่งใหม่พร้อมทั้งได้รับจากรองอธิบดีกรมการแพทย์ นายแพทย์จรัล ตฤณวุฒิพงษ์ ได้ให้เกียรติมาเป็นประธานในพิธีทำบุญเปิดอาคารอำนวยการ>สถานที่ตั้งของ ที่ทำการถาวร ของศูนย์ฯ คือ 775 ถนนมะลิวัลย์ หมู่ 12 ตำบลศิลา อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น โดยเปิดให้บริการเฉพาะผู้ป่วยนอก ต่อมาวันที่ 15 พฤษภาคม 2540 ศูนย์ฯได้เปิดอาคารผู้ป่วยขั้นถอนพิษยาจำนวน 60 เตียง จนกระทั่งวันที่ 5 มกราคม 2541 ศูนย์ฯได้เปิดอาคารผู้ป่วยขั้นถอนพิษยาเพิ่มขึ้นอีก 2 หลัง เพื่อขยายงานบริการอีกจำนวน 40 เตียง และอาคารที่ ทำการศูนย์ชุมชนบำบัดขึ้นอีก 20 เตียง เพื่อให้บริการบำบัดรักษาผู้ป่วยยาเสพติดขั้นฟื้นฟูสมรรถภาพเป็นครั้งแรก ของศูนย์ฯ และศูนย์ฯ ได้รับเกียรติจากรองอธิบดีกรมการแพทย์ นายแพทย์จรัล ตฤณวุฒิพงษ์ ได้กรุณามาเป็นประธาน ในพิธีทางศาสนาเพื่อเปิดอาคารดังกล่าวอีกครั้งหนึ่ง ปัจจุบันศูนย์ฯ มีขีดความสามารถในการให้บริการบำบัดรักษาแผนก ผู้ป่วยในขั้นถอนพิษยาจำนวน 100 เตียง และขึ้นฟื้นฟูสมรรถภาพจำนวน 40 เตียง รวมจำนวนเตียงที่สามารถรองรับ ผู้ป่วยได้ทั้งสิ้น 140 เตียง